Timeside

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ้านทุ่งม่านเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง


ประวัติหมู่บ้าน
สมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 2321 เกิดศึกสงครามระหว่าง พม่าสู้รบกับมอญและพม่าเป็นฝ่ายแพ้ จึงได้ถอยทัพร่นลงมาทางใต้ของไทย กองทัพพม่าได้เดินทางมาพักแรมระหว่างบ้านแค่กับบ้านทุ่งม่านเหนือในปัจจุบันขณะที่กองทัพพม่าพักแรมคืนนั้น ทหารพม่าได้ใช้ไม้ไผ่แห้งจุดแค่เพื่อความสว่างส่องทาง พอจุดได้ไม่นานแค่(ขี้ใต้)ก็หมด จึงหยุดพักค้างคืนอยู่ในบริเวณร่องน้ำในที่สุดทหารพม่าก็ถอยทัพกลับ  แต่ได้มีทหารบางส่วนไม่กลับฐานที่ตั้ง ได้พากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณร่องม่าน(ร่องน้ำ) ต่อมาก็มีราษฎรอพยพมาตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ขนานนามหมู่บ้านนี้ว่า  “บ้านทุ่งม่าน” (ม่านทางภาคเหนือ หมายถึง พม่า) ปัจจุบันมีชื่อว่า บ้านทุ่งม่านเหนือ เนื่องจากมีการแยกหมู่บ้านเป็น บ้านทุ่งม่านเหนือ และบ้านทุ่งม่านใต้
จำนวนครัวเรือนและประชากร
-    มีจำนวนครัวเรือน จำนวน 23ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 716 คน ชาย 339 คน หญิง 377 คน
-    อาชีหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม
-    อาชีพรอง ได้แก่ ทำข้าวแต๋น รับจ้าง

ที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านทุ่งม่านเหนือ ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า ห่างจากตัวอำเภอเมืองลำปาง ประมาณ 13 กิโลเมตร 
ลักษณะภูมิประเทศ
-    บ้านทุ่งม่านเหนือ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีลำน้ำแม่ตุ๋ยไหลผ่านมีทุ่งนาล้อมรอบ
-    มีพื้นที่ 17,511ไร่ ใช้ทำการเกษตร 13,000 ไร่ 
สภาพเศรษฐกิจ / สภาพสังคม
-    รายได้เฉลี่ย 51,444.15 บาท / คน / ปี
-    ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ
-    บ้านทุ่งม่านเหนือเป็นหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2542 ของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และเป็นหมู่บ้านดีเด่นสู้ภัยเศรษฐกิจ ระดับจังหวัด ปี 2543
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ชาวบ้านทุ่งม่านเหนือรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าชุมชน ซึ่งมีกลุ่มอาชีพเด่นๆ ซึ่งเป็นสินค้าเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ได้แก่
-    กลุ่มข้าวแต๋นน้ำแตงโม เป็นการรวมกลุ่มทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม โดยมีกลุ่มของหมู่บ้าน จำนวน 1 กลุ่ม และมีกลุ่มย่อยในหมู่บ้านอีกประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาเป็นรูปแบบทันสมัย คือสมัยก่อนชาวบ้านจะนำข้าวที่เหลือจากการกิน มาตากแห้งเพื่อเก็บไว้กินในวันต่อไป ปัจจุบันนำมาแต่งหน้าด้วยน้ำตาลอ้อยและโรยงา หรือทำเป็นหน้าธัญญาพืชหน้าหมูหยอง ฯลฯ เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่หมู่บ้านไม่ต่ำกว่าเดือนละ 500,000 บาท
-    กลุ่มตุ๊กตาเซรามิค ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ ช้าง ม้า หมู สุนัข แมว เต่า ตุ๊กตารูปคน ฯลฯ
-    กลุ่มตุ๊กตาขนสัตว์ ชาวบ้านได้รวมตัวกันเพื่อทำตุ๊กตาขนสัตว์จำหน่ายเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา ปัจจุบันได้ทำเป็นตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ จำหน่ายราคาถูกกว่าท้องตลาด
สถานที่ท่องเที่ยว / สถานที่บริการ
-    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-    ร้านค้าชุมชน (SML)
-    ศาลาเอนกประสงค์
-    สถานีอนามัยประจำตำบล
-    ที่อ่านหนังสือพิมพ์
-    วัด
การคมนาคม
บ้านทุ่งม่านเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเป้า ห่างจากตัวอำเภอเมืองลำปาง ประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 20 นาที
กลุ่มอาชีพ
-    กลุ่มข้าวแต๋น
-    กลุ่มตุ๊กตาเซรามิค
-    กลุ่มตุ๊กตาขนสัตว์
ศิลปวัฒนธรรม  / ภูมิปัญญา  และประเพณี
หมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ และวัดพระธาตุคีรีวงศ์เป็นวัดที่เก่าแก่  ประเพณีทำบุญพระธาตุม่อนกันวีประเพณีที่ถือปฏิบัติของวัดจะจัดในวันขึ้น  15  ค่ำ เดือน 5  ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี
-    ประเพณีการไหว้ผีชาวบ้าน
-    ประเพณีไหว้ผีปู่ย่า
-    ประเพณีตีก๋องปู่จา
-    ประเพณีตีก๋องสะบัดชัย
-    ทำบุญทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา 
ชาวบ้านทุ่งม่านเหนือ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางและภาษาพื้นเมืองภาคเหนือในการสื่อสารกัน ด้านศาสนาส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ วันสำคัญทางศาสนาจะไปทำบุญวัดใกล้หมู่บ้าน (ตามจิตศรัทธาของแต่ละบุคคล) ด้านประเพณีก็เหมือนกับหมู่บ้านอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน การอุปสมบทและการบรรพชา การจัดงานวันเด็ก  การสืบชะตา การสะเดาะเคราะห์ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การลอยกระทง และการแข่งขันกีฬาประจำปีของหมู่บ้านตำบล
บริการในตำบล/แหล่งท่องเที่ยว/อัตตาลักษณ์ของหมู่บ้าน
 บริการในตำบล
ศูนย์กลางของหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรม คือ ศาลาประชาคมประจำหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุม/ประชาคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน
อัตตาลักษณ์และตำแหน่งการพัฒนาของหมู่บ้าน
                บ้านทุ่งม่านเหนือ ปัจจุบันค่อนข้างไปทางสังคมเมืองมากขึ้น เนื่องมาจากการเป็นหมู่บ้านใหม่และความเจริญจากในเมือง รวมทั้งถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการได้มาจัดตั้งภายในเขตของหมู่บ้าน แต่องค์กรทางสังคมก็ยังคงมีความเข้มแข็งอยู่ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นต้น 
การกำหนดอัตตาลักษณ์ของบ้านทุ่งม่านเหนือ จึงเป็นสิ่งที่เสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ในการรวมกลุ่มกันในลักษณะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหลายกลุ่ม นั่นคือเป็นหมู่บ้านทำข้าวแต๋น” แต่การทำนาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ยังเป็นอาชีพหลักของหมู่บ้านอยู่เช่นเดิม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น